รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อมด้วยอาจารย์อุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจจากทั่วประเทศ จำนวน 1,300 ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1-7 กันยายน 2567 พบว่า คนไทยมีหนี้เฉลี่ย 606,378 บาท/ครัวเรือน สูงสุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.4% เพิ่มขึ้น 47,000 บาท/ครัวเรือน โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และ รายรับไม่พอกับรายจ่าย ประกอบกับปริมาณปริมาณการกู้ในระบบเต็ม จึงจำเป็นต้องกู้เพิ่มนอกระบบเพิ่มเติม จึงทำให้สัดส่วนหนี้นอกระบบเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน ผนวกกับการใช้จ่ายไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ จากผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ 99.7% ครัวเรือนมีหนี้เสีย และมีเพียง 0.3% ไม่มีหนี้ โดยพบว่าปี 2567 ประเภทหนี้ 3 อันดับแรกได้แก่ 1.บัตรเครดิต 60.2% 2.ยานพาหนะ 47.1% 3.ส่วนบุคคล (อุปโภคบริโภค) 40.1% แยกประเภท กลุ่มอาชีพ 1. รับราชการ หนี้มากสุด บัตรเครดิต 70.0 % ยานพาหนะ 52.4% อุปโภคบริโภค 49.6% 2. อาชีพรับจ้าง หน้าบัตรเครดิต 52.6 % ใช้จ่ายอุปโภคบริโภค 51.3 % และยานพาหนะ 42.1% 3.เจ้าของกิจการ เป็นหนี้บัตรเครดิต 65.3% หนี้กู้ประกอบกิจการ 62% และยานพาหนะ 40.5% 4.พนักงานเอกชน เป็นหนี้บัตรเครดิต 69.8% หนี้ยานพาหนะ 50.5% และหนี้ส่วนบุคคล 39.1% 5.เกษตรกร เป็นหนี้กู้เพื่อการเกษตร 66.4% หนี้ยานพาหนะ 47.9% และหนี้บัตรเครดิต 43.8% เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 (อาคารสัญญลักษณ์)อาคาร 24 ชั้น 15 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Category: PR News
Share This Article