ปัจจุบันกระแสการเรียนการสอนตลอดจนการสอบออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในต่างประเทศมวีปต่างๆทั่วโลกดำเนินการได้หลายปี ในประเทศไทยเองเช่นกันในเรื่องของโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาไทยทั้งครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษาและนักเรียน สามารถสังเกตได้จากFacebook จะมี Facebook Live ตลอดจน Youtube ในหัวข้อต่าง ๆ ที่ทุกคนสนใจกัน เช่น เรื่องของกานลงทุน เรื่องของธุรกิจ หรือ เรื่องของการสอนเทคนิคใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำโปรแกรมใหม่ ๆ ที่เข้ามาและกำลังเป็นที่นิยมซึ่งเราก็จะสามารถหาดูตาม Youtube ได้อย่างแพร่หลาย
รศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีระบบการเรียนรู้แบบ Hybrid และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบ UTCC Hybrid Learning System มาอย่างยาวนานแล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต Covid-19 ครู อาจารย์และนักศึกษามีความเชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีด้านออนไลน์อยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องมีการปรับตัวกันมากนัก ที่สำคัญมหาวิทยาลัยต้องการหลีกเลี่ยงให้นักศึกษาต้องเดินทาง ต้องมีความเสี่ยงในการพบปะผู้คนตลอดเวลา เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยคำนึงถึงความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจของนักศึกษาไว้เป็นอันดับแรก มหาวิทยาลัยเห็นพร้อมต้องกันว่าจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งเดี๋ยวนี้สามารถทำได้อย่างสะดวกอาศัยความเร็วอินเตอร์เน็ต ความแพร่หลายของ Wi-fi เรื่อของสมาร์ทโฟนต่าง ๆ ที่มีส่วนสนับสนุนและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการใช้เรียนออนไลน์มีมากมายจึงทำให้การเรียนการสอนทางออนไลน์นั้นเป็นไปได้อย่างสะดวก โดยนักศึกษาหรือเด็กรุ่นใหม่ก็จะชอบอะไรที่เป็นเทคโนโลยีรู้สึกว่ามันสะดวก ถ้าเข้าเรียนไม่ทันก็สามารถที่จะเรียนย้อนหลังทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น ขณะเดียวกันแม้ไม่ได้เรียนอยู่ในห้องเรียนก็สามารถที่จะโต้ตอบกับอาจารย์ผ่านโปรแกรมไม่ว่าจะเป็น Cisco Webex , Microsoft Team หรือ Zoom แม้กระทั้ง Facebook Live ที่อาจารย์แต่ละท่านได้ใช้งานอยู่ก็ทำให้คุณภาพไม่แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนจริงๆ”
“พอเรียนในห้องเรียนออนไลน์ครบตามจำนวนคาบที่เรียนแล้วต้องมีการสอบ แน่นอนว่าในเรื่องของคุณภาพเราต้องย้ำเลยว่ามีคุณภาพเหมือนเรียนในห้องเรียนจริง ซึ่งในต่างประเทศแล้วจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่สมัยที่ผมเรียนอยู่ต่างประเทศบางวิชาก็เป็นการสอบออนไลน์ที่บ้าน และบางวิชาที่มหาวิทยาลัยเราสอนในระดับบัณฑิตศึกษาก็เป็นการให้เขาไปค้นคว้าทำโครงงานและมานำเสนอ ซึ่งในบางวิชาสามารถที่จะใช้แนวคิดแบบนี้ได้ คือ ให้โจทย์ถามในเรื่องของการวิเคราะห์ เช่น ถ้าคุณเจอแบบนี้คุณจะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งไม่สามารถลอกความคิดผู้อื่นมาตอบข้อสอบได้ ที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงคำถามที่นักศึกษาจะหาคำตอบได้ในกูเกิ้ล ส่วนเป็นวิชาที่ทดสอบทักษะทางภาษาก็อาจจะให้นักศึกษาบันทึกเสียงการพูด หรือ การทำการประชุมแบบวีดีโอเพื่อที่จะได้เห็นทักษะการพูดและสามารถโต้ตอบกันได้แบบการสอบสัมภาษณ์ได้ทันที เพราะฉะนั้นคุณภาพการศึกษาของทั้ง 2 แบบที่เรียนในห้องเรียนและเรียนผ่านระบบออนไลน์ คุณภาพความรู้ไม่ได้แตกต่างกันจริง ๆ เนื่องจากว่าเป็นช่องทางที่ตรงกับเด็กรุ่นใหม่นักศึกษาจะให้ความสำคัญและโต้ตอบกับอาจารย์มากกว่าการเรียนในห้องเรียน บางครั้งมันเป็นการสอนทางเดียวถ้าผู้สอนอธิบายไปแล้วถามนักศึกษาว่ารู้เรื่องไหม นักศึกษาก็แค่พยักหน้าแต่จริง ๆ รู้หรือเปล่าอันนี้เราก็ไม่รู้ แต่ครั้งนี้การสอนออนไลน์นักศึกษาสามารถที่จะโต้ตอบได้ถ้าใช้ Facebook Live เขาก็จะ Comment ตอบเรามา แต่ถ้าใช้ Video Conference นักศึกษาก็สามารถที่ตอบและยกมือถามพูดออกเปิดไมค์ เท่ากับว่าคุณภาพของทั้ง 2 อย่างนั้นไม่ได้ต่างกันเลยเพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนการวัดผลและวิธีการสอนให้สอดคล้องกัน” รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวทิ้งท้าย