IDE Center ร่วมกับ สอวช. จัดงาน IDE Node Progress Meeting .
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดกิจกรรม IDE Node Progress Meeting ณ โรงแรม เดอะ ระวีกัลยา แบงค็อก .
ภายในงานมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Node Core Team) และ IDE Node รุ่น 2 จำนวนกว่า กว่า 13 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี, มหาวิทยาลัยมหิดล, Health Teach, ผู้ประกอบการ จ.นครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), Knowledge Xchange, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, ผู้ประกอบการ จ. ราชบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช .
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้กล่าวถึงความร่วมมือระหว่าง IDE และสอวช. ว่า กระบวนการคิดของ IDE นั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเสนอความเห็นต่อสภานโยบายเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนด้านการอุดมศึกษาและแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่นๆ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล เพื่อพัฒนาศัยภาพของผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมชุมชนในด้านต่างๆ นั้น และยิ่งไปกว่านั้น คือ ความตั้งใจของ IDE Node ที่มีคุณภาพ เพื่อขับเคลื่อนประเทศสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน . การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ และการสร้างระบบนิเวศการประกอบการ เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า โดยการสร้างระบบนิเวศของการประกอบการที่เอื้อต่อการเกิดของวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม จะต้องประสานความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน ซึ่งการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สามารถเสริมสร้างให้เกิดการดำเนินการที่สามารถผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และเป็นไปตามกรอบของ MIT Reap ที่ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.)ได้ศึกษา มีประสบการณ์ในการเรียนรู้แพลตฟอร์มดังกล่าวกับ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา .
ผศ.ดร.ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการ IDE Center ม.หอการค้าไทย ได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานของการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชน (IDE Node) ว่า ตลอดระยะ 2 ปีที่ผ่านมา IDE Center ร่วมกับสอวช. ได้สร้างสรรค์ระบบนิเวศทางการประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Ecosystem) เพื่อผลักดันให้ Node ทั่วประเทศได้เริ่มดำเนินโปรเจค เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการประกอบการไปยังชุมชนของตนเองในรูปแบบต่างๆ .
“ในขณะเดียวกันเราเองก็เจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯ นั้น IDE Center ดำเนินการจัดการอบรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการแบบออนไลน์ (REAP Foundation) พัฒนากิจกรรมอบรมรากฐานความเข้ากรอบการพัฒนาระบบนิเวศทางการประกอบการ เพื่อความเข้าใจและการดูแลอย่างทั่วถึงในการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และเราจะก้าวไปกับคุณ จนกว่าคุณจะหยุดเดิน” ผศ.ดร.ศักดิพล กล่าวทิ้งทายก่อนจะเริ่มนำเสนอรายงานความก้าวหน้า .
“Value for Whom คือปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม เพราะในส่วนนี้จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ยึดติดกับวิธีการค้นหาไอเดียทำธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมมุ่งเน้นพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย” ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร IDE ม.หอการค้าไทย กล่าวทิ้งท้าย .
ทั้งนี้ IDE Center ได้รับเกียรติจากดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มอบรางวัล IDE Node Wow Award ให้กับทีม Node ที่มีการพัฒนาต่อไอเดียนวัตกรรมพัฒนาชุมชน 2 ทีม ได้แก่ (1) ทีม Node วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรโดยการสร้างชุมชนผู้สูงอายุให้เกิดขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ทำให้เห็นภาพมิติของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต อีกทั้งได้เล็งเห็นโอกาสกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องสูตรอาหาร เพราะผู้สูงอายุนั้นก็ถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสูตรอาหารรสเลิศเลยก็ว่าได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเพื่อประยุกต์เป็นการสร้างร้านอาหารสำหรับผู้ประกอบการเท่านั้น อาจจะเป็นกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพื่อพบปะรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ และ (2) ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในทีมที่ได้ลองผิดลองถูกหาหามุมมองในการสร้างนวัตกรรมชุมชน โดยการสำรวจข้อมูล (Internet Explore) มองหาไอเดียต่างๆ ที่อยู่ในบริบทแวดล้อมของชุมชนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น หรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนแต่ยังขาดการต่อยอด จนกระทั่งไปพบกับวัชพืชชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า ชะคราม หลังจากนั้นก็ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบไม่เป็นการทางเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยการเริ่มต้นพูดคุยกับชาวบ้าน และเก็บตัวอย่างชะครามติดมือมาทดลองในรูปแบบต่างๆ เพื่อนค้นหาวิธีการเก็บรักษา หรือการนำมาประกอบอาหารในเมนูต่างๆ .
จะเห็นได้ว่าแนวคิดของผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความทันสมัยของเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ส่วนที่ IDE ตอกย้ำและให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การออกไปสำรวจ และสังเกต สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมบริบทโดยรอบ .