IDE Center ร่วมกับ สอวช. ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชน Node สวทช.
. IDE Center ขับเคลื่อนนวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมชุมชน Node สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ความร่วมมือกับ สอวช.
. 16 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการ IDE Center และ ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร IDE ม.หอการค้าไทย ลงพื้นที่พัฒนากิจกรรมอบรมรากฐานการพัฒนาระบบนิเวศทางการประกอบการ เพื่อความเข้าใจและการดูแลอย่างทั่วถึงในการเรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ (1) คุณมนัสสวี นกแก้ว (2) คุณจันทร์เพ็ญ ถาวรศักดิ์ (3) คุณจารุณี หงษ์วิชุลดา และ (4) คุณวไลภรณ์ เรืองสงฆ์
. ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในโครงการพัฒนานโยบายเชิงทดลองเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม ระยะที่ 2 ภายหลังผ่านการอบรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการแบบออนไลน์ (REAP FOUNDATION) ตามกรอบแนวทางของ MIT REAP ให้กับตัวแทนเครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนรุ่นที่ 2 ภาคกลาง หลังจากที่ IDE Node 2 ได้ผ่านการสัมมนาเชิงปฎิบัติการแบบออนไลน์สู่พัฒนานวัตกรรมชุมชนอย่างยั่งยืน ในช่วงอยู่ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา โดยตั้งโจทย์ไว้ให้คิดว่า อะไรจะเป็นสิ่งที่อยากทำมากที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมชุมชน
. ที่ผ่านสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ได้ดำเนินสร้างเครื่องมือในรูปแบบต่างๆ เพื่อการพัฒนาเครือข่ายระบบอุตสาหกรรมการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็พบว่าฝั่งผู้ใช้งาน (เกษตรกร) มองว่า ยังไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง ซึ่ง Node สวทช. ได้พูดคุยร่วมกันกับฝั่งผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ได้ประเด็นปัญหาคือ ตัวผู้ประกอบการ IT ไม่เข้าใจปัญหาที่เกษตรกรเจอ ทำเกษตรไม่เป็น เลยทำให้สินค้าออกมาไม่ค่อยตอบโจทย์เกษตรกร ส่วนฝั่งเกษตรกร ได้ประเด็นปัญหา คือ ค่าใช้จ่าย Software และ Hardware มีราคาสูง ไม่มีเงินทุน ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี ทั้งด้านการใช้งานและไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงต้องใช้งานสิ่งนี้ และNode ได้เสนอแนวทางการจัดการ โดยเปิดพื้นที่กิจกรรม Workshop ให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการเทคโนโลยี มาแลกเปลี่ยนประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งในแง่การใช้งานและประโยนช์ของสินค้า เพื่อให้ตอบสนองการใช้งานของเกษตรกร
. ทางด้าน IDE Center ได้แนะนำเพิ่มเติมในประเด็นข้างต้นว่า การสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีทำนั้น โฟกัสไปที่วิธีการ (ทำแอพหรือทำสินค้า) ซึ่งจริงๆแล้วเรามองว่า เป้าหมายแรกของ Node สวทช. ควรจะสำรวจและพูดคุยกลุ่มเกษตรกร แต่ก่อนหน้านั้นต้องกำหนดก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายเราเกษตรกรแบบไหน ถ้าเราสำรวจ เราจะพบเกษตรกรหลายๆ กลุ่ม เราจะเจอปัญหาหลายๆแบบด้วย เพราะแต่ละกลุ่มจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน เพื่อให้เราเข้าใจเกษตรกรมากขึ้น และเราก็อาจจะได้ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ ซึ่งเบื้องต้นจะเลือกลงพื้นที่กับกลุ่ม Stakeholder ที่คิดว่าจะเป็นกลุ่มทำงานของ Node ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ร่วมกันแชร์ไอเดีย ที่จะสร้างผู้ประกอบการจาก Gen ใหม่ โดยโฟกัสไปที่กลุ่ม นักศึกษาหรืออาจารย์ ด้วยส่วนใหญ่แล้วเป็นลูกหลานของเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเข้าใจปัญหาของเกษตรกรดี และมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนกว่าคนอื่น โดยร่วมกันอาจจะร่วมกันทำกิจกรรมที่จะดึงเอากลุ่มพ่อแม่ที่เป็นเกษตรกร กลุ่มนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ในมหาลัย ร่วมกันสำรวจปัญหา พูดคุยแชร์ไอเดีย สร้างการสื่อสารกันในชุมชน อาจจะได้เจอโอกาสใหม่ๆ ร่วมกัน และสร้างคอมมูนิตี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตร ซึ่งกันและกันอีกด้วย
. ทั้งนี้ IDE Center ยังคงลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรายงานความก้าวหน้ากับตัวแทนเครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนรุ่นที่ 2 ทั้งในพื้นที่อีกหลายจังหวัดในภาคกลาง และภาคใต้ และยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมชุมชนที่น่าสนใจ