“เปลี่ยนความเหลื่อมล้ำให้เสมอภาคได้อย่างไร?
ถอดความคิดนักเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาชั้นนำของโลก”
All for Education ครั้งแรกของเวทีการศึกษาเพื่อความเสมอภาค ที่ใหญ่ที่สุดด้วยรูปแบบออนไลน์
ดร.วีระชาติ กิเลนทอง กล่าวว่า “ขอเชิญรับชม session นี้ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำด้านการศึกษากันครับ สำหรับงาน Equitable Education Conference: All for Education ที่ทาง กสศ. เป็นเจ้าภาพในการจัด โดยใน session นี้ผมได้ชวนนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และระดับประเทศให้มานำเสนอเรื่องราวงานวิจัยของพวกเขาให้ฟังกัน”
1. Harry Patrinos นักเศรษฐศาสตร์ด้านการศึกษาของธนาคารโลก (ตำแหน่งปัจจุบันคือ Practice Manager, World Bank Education) ที่มีผลงานมากมาย ทั้งเรื่อง Return to Education และงานศึกษาในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษา สมัยที่เขาดูทางเอเชียก็คุ้นเคยกับเมืองไทยดี วันนี้เขาจะมาเล่าเรื่องการประมาณการสถานการณ์การปรับตัวของการศึกษา ต่อ COVID-19 และรายงานการคาดการณ์ด้านการศึกษาของไทยว่า เราจะได้รับผลกระทบอย่างไร ภาคการศึกษาควรมีการปรับตัวอย่างไร https://www.worldbank.org/en/about/people/h/harry-patrinos
2 ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อดีตนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งรางวัลป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่หลังจากจบการศึกษาจาก ม.ชิคาโก แล้ว ก็ยังได้ทำผลงานวิชาการออกมาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะได้ลงมาทำเรื่องปฐมวัยแบบจริงจัง ตามแนวทางงานวิจัยของ James Heckman ที่เป็นอาจารย์ของเขาที่ชิคาโก ปัจจุบัน อ.วีระชาติยังรับตำแหน่งคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นคณะที่เพิ่งเปิดใหม่ อีกตำแหน่งด้วย คาดว่างานวิจัยเรื่องปฐมวัยของเขา ที่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง น่าจะสร้างคุณูปการต่องานวิชาการและภาคปฏิบัติเชิงนโยบายของประเทศไทย และสามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างให้กับต่างประเทศได้ เพราะมีการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบติดตามอย่างมีคุณภาพสูงมาก http://riped.utcc.ac.th/tee/
3. Eric Hanushek นักเศรษฐศาสตร์การศึกษาแห่ง Hoover Institute, Stanford University เป็นผู้มีผลงานตีพิมพ์และได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องของผลของทรัพยากรในโรงเรียนต่อการศึกษา อิทธิพลของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อิทธิพลของครูต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยเฉพาะงานในยุคหลัง ๆ ของเขาในเรื่อง Education and Economic Growth โดยการวิเคราะห์จากคะแนนสอบมาตรฐานระดับนานาชาติ ที่ได้รับการอ้างอิงค่อนข้างมากในสื่อใหญ่ต่างๆ ในงานนี้อาจารย์ได้เตรียมข้อมูลการประมาณแบบจำลองการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ของการเรียนในแบบต่างๆ ไว้ให้เราได้ฟังกันด้วย http://hanushek.stanford.edu/
====================
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาค
ทางการศึกษา “ปวงชนเพื่อการศึกษา”
ร่วมลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมออนไลน์
ได้ที่ : http://afe2020.eef.or.th/thai/
====================
ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30-16:00 น.
และวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 เวลา 09:00-15:00 น.