การตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ระดับมหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก คณะกรรมการตรวจประเมินมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ต.ท.ดร.ภก.นภดล ทองนพเนื้อ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.พุทธกาล รัชธร กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวงศ์ พูนพล กรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ราณี อิสิชัยกุล กรรมการ
5. อาจารย์ ดร.อรรณพ โพธิสุข กรรมการ
6. รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญอร ไหมสุทธิสกุล กรรมการ
7. รองศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ ศรีสมถวิล กรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันต์ชัย รัตนนนท์ กรรมการ
9. อาจารย์ ดร.เอกธิป สุขวารี กรรมการ
10. อาจารย์ ดร.สยาม ค้าสุวรรณ กรรมการ
โดยผลการประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ระดับดีมาก
1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูง มีการขับเคลื่อนให้นักศึกษาเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตและในการสร้างธุรกิจ โดยเน้นที่การเป็น Happy University และกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์ ภายใต้การเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติงานได้จริงในธุรกิจและวิชาชีพ
2. มหาวิทยาลัยฯ มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็น World class University การเคลื่อนสู่ความเป็นผู้นำและประสงค์ที่จะเป็นต้นแบบด้านการเป็นนานาชาติ และการเป็น Digital University โดยอาศัยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลก เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการสร้างนวัตกรรม
3. มหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลซึ่งรวบรวมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านสถานการณ์ของการจัดการศึกษา การกำหนดตลาดทั้งในปัจจุบันและตลาดในอนาคต เพื่อนำมากำหนดหลักสูตร
และผลิตบัณฑิตทั้ง ตรี โท เอก และการ Training ผู้บริหารระดับสูงในวงการต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้เศรษฐกิจและธุรกิจไทย
4. มหาวิทยาลัยฯ ปรับโครงสร้างและกระบวนการทำงานที่มีการสอดประสานและบูรณาการของภารกิจ และเพื่อรองรับ Disruptive Technology ได้อย่างรวดเร็ว
5. มหาวิทยาลัยฯ ดูแลคุณภาพของมหาวิทยาลัยโดยเน้นที่คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และคุณภาพขององค์การ โดยหลักคิดของผลลัพธ์และผลผลิตเป็นตัวตั้งและนำมาสู่การปรับปรุงกระบวนการ โดยมีสภามหาวิทยาลัยและหอการค้าไทยเป็นผู้กำกับดูแลและใช้เกณฑ์คุณภาพของทั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และมาตรฐานด้านต่าง ๆ
6. แม้ว่ามหาวิทยาลัยสามารถตอบสนองความไม่แน่นอนหรือสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้อย่างดี แต่ในขณะที่จำนวนผู้สมัครเข้าเรียนลดลง โดยเฉพาะด้านนานาชาติ มหาวิทยาลัยอาจต้องกำหนดวิธีการต่าง ๆ อย่างดี รวมถึงการมุ่งมั่นสร้าง Brand ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดประสิทธิผล